การใช้ Radius login ELPROMA NTP Server ผ่าน SSH

RADIUS (Remote Authentication Dial-In User Service) เป็นโปรโตคอลทางความปลอดภัยระหว่างอุปกรณ์ไคลเอนต์และเซิร์ฟเวอร์ เพื่อใช้สำหรับยืนยันตัวตนของผู้ใช้งาน User ที่ต้องการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์หรือเครือข่าย Network โดยตัว Service Radius server ที่เรานิยมติดตั้งบน OS Linux เพื่อให้บริการ Authentication ก็มี FreeRADIUS ซึ่งสามารถเพิ่มหรือดึงข้อมูลของ ผู้ใช้งาน user ได้ 2 แบบหลัก คือ Local server และแบบ database เช่น LDAP centralized user management Elproma และ เทคซอร์ส กรุ๊ปส์ ผู้ผลิตและผู้เชี่ยวชาญด้านการอ้างอิงเวลาในระบบเครือข่าย ได้แนะนำการตั้งค่าตัว Radius ที่ Elproma NTP Server ในรุ่น NTS-3000, NTS-4000, NTS-5000 ที่มีผู้ใช้งานมากในหน่วยงานขนาดกลาง และใหญ่ […]

ทำความรู้จักกับ Chrony ตัวช่วยในการซิงค์เวลาในเครือข่ายคอมพิวเตอร์

Chrony คือโปรแกรมที่ช่วยให้เราสามารถใช้งานตัวโปรโตคอล Network Time Protocol (NTP) เพื่อซิงโครไนซ์นาฬิกา Local clock, System OS Clock, Computer Clock กับเซิร์ฟเวอร์เวลา NTP Server ผ่านเครือข่าย โดยโปรแกรม Chrony เวอร์ชั่นใหม่ๆ ช่วยปรับนาฬิกาของระบบได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งมีโปรแกรมหลักอยู่ 2 ตัว คือ `chronyd` ที่ทำงานเป็น daemon service และ `chronyc` ที่เป็น command line คอยรับคำสั่งสำหรับการกำหนดค่าและการตรวจสอบการทำงานของตัว chronyd service โดยเราสามารถกำหนดค่าเบื้องต้นของ Chrony ได้ในไฟล์ Config ซึ่งจะอยู่ที่: `/etc/chrony/chrony.conf` สามารถทำหน้าที่เป็น NTP Client และ NTP Server รองรับการประทับเวลาด้วยฮาร์ดแวร์ hardware timestamp เพื่อความแม่นยำที่ดีขึ้น สามารถปรับเวลาที่ถูกต้องได้อย่างรวดเร็ว

ข้อเสนอการจัดหาอุปกรณ์ GPS NTP SERVER STARTUM 1 สำหรับศูนย์ข้อมูลตามมาตรฐาน ISO 27001:2022

การจัดหาอุปกรณ์ GPS NTP SERVER STARTUM 1 สำหรับศูนย์ข้อมูลตามมาตรฐาน ISO 27001:2022 เพื่อเน้นถึงความจำเป็นและประโยชน์ของการซื้ออุปกรณ์เซิร์ฟเวอร์ GPS NTP (Network Time Protocol) สำหรับศูนย์ข้อมูลของเรา การลงทุนนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งในการปฏิบัติตามมาตรฐาน ISO 27001:2022 ภาคผนวก A 8.17 ซึ่งกำหนดเวลาที่แม่นยำและซิงโครไนซ์กับระบบไอทีทั้งหมด เพื่อให้มั่นใจในความสมบูรณ์และความปลอดภัยของกิจกรรมการประมวลผลข้อมูล และการใช้อุปกรณ์บน IP Network ให้มีเวลาตรงกันและสามารถอ้างอิงไปยังเวลามาตรฐานสากล UTC เพื่อป้องกันปัญหาต่างๆ การปฏิบัติตาม ISO 27001:2022 ภาคผนวก A 8.17 การรักษาความปลอดภัยขั้นสูง ประสิทธิภาพการดำเนินงาน ความน่าเชื่อถือของระบบ การปฏิบัติตามข้อกำหนดเพื่อลดความเสี่ยงและการจัดการลงทุนที่คุ้มค่า การปฏิบัติตาม ISO 27001:2022 ภาคผนวก A 8.17  ข้อกำหนด ISO 27001:2022 ภาคผนวก A 8.17 กำหนดให้องค์กรต้องรับรองการซิงโครไนซ์นาฬิกาภายในของระบบประมวลผลข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับแหล่งเวลาที่แม่นยำ  วิธีแก้ปัญหา อุปกรณ์เซิร์ฟเวอร์ […]

PTP โปรโตคอลทำงานอย่างไร? How does PTP (IEEE1588:2008) work?

PTP โปรโตคอล หรือ Precision Time Protocol (PTP) ทำงานผ่านชุดการแลกเปลี่ยนข้อความ หรืออาศัยการแลกเปลี่ยน Message โดยจะมีการคำนวณค่าการหน่วงเวลาในเครือข่ายหรือเส้นทางที่มีการส่ง Message เพื่อซิงโครไนซ์นาฬิกา Clock ผ่านเครือข่าย Elproma และ เทคซอร์ส กรุ๊ปส์ ผู้ผลิตและผู้เชี่ยวชาญด้านการอ้างอิงเวลาในระบบเครือข่าย ขอสรุปภาพรวมวิธีการทำงานของ PTP ไว้ดังนี้ Clock Roles บทบาทของนาฬิกา Clock Selection การเลือกนาฬิกา Message Exchanges การแลกเปลี่ยนข้อความ Clock Adjustment การปรับนาฬิกา Clock Roles หรือ บทบาทของนาฬิกาใน PTP โปรโตคอล จะมีอยู่ด้วยกัน 4 บทบาท Master Clock (MCLK) นาฬิกาหลัก ภายในเครือข่าย ซึ่งคอยทำหน้าที่เป็นตัวให้เวลาอ้างอิงกับนาฬิกาเครื่องอื่นๆ Slave Clock (SCLK) นาฬิการอง ภายในเครือข่าย […]

โปรโตคอล IRIG คือ? What is IRIG Protocol?

โปรโตคอล IRIG หรือ Inter-Range Instrumentation Group คือ มาตรฐานรหัสเวลา Time code ที่นำมาใช้สำหรับการส่งข้อมูลเวลาที่ถูกพัฒนาขึ้นมาโดยคณะทำงานด้านโทรคมนาคมของ Inter-Range Instrumentation Group รหัสเวลาหรือ time code เหล่านี้ใช้เพื่อส่งข้อมูลเวลาในรูปแบบที่ต้องการความแม่นยำ รวมถึงมีมาตรฐานรองรับ เช่น ใช้ในการวัดและส่งข้อมูลทางไกล Telemetry การทหาร Military อวกาศ Space และการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ Scientific เป็นต้น ซึ่งในปัจจุบันโปรโตคอล IRIG ยังมีใช้อยู่ในระบบจ่ายไฟฟ้า สถานีส่ง แต่ก็เริ่มมีการปรับเปลี่ยนมาใช้เป็น PTP Protocol กันบ้างแล้ว รูปแบบรหัสเวลา Time Code Formats โดยทั่วไปรหัสเวลา IRIG จะถูกจัดประเภทเป็นรูปแบบต่างๆ เช่น IRIG-A, IRIG-B, IRIG-E, IRIG-G และ IRIG-H ซึ่งตัว IRIG-B นั้นจะเป็นรูปแบบที่ใช้บ่อยที่สุดในบ้านเรา โดยตัวโปรโตคอล […]

PTP Protocol ในโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (Why is PTP used in smart grid applications?)

Precision Time Protocol (PTP) ตามมาตรฐาน IEEE1588:2008 ถูกนำมาใช้มากขึ้นในงานระบบไฟฟ้าอัจฉริยะ Smart Grid ด้วยเหตุผลที่น่าสนใจหลายประการ ความจำเป็นในการซิงโครไนซ์เวลาที่แม่นยำในระบบไฟฟ้ามีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากความซับซ้อนและความต้องการของโครงข่ายไฟฟ้ามีเพิ่มมากขึ้น ดั้งนั้น Elproma และ เทคซอร์ส กรุ๊ปส์ ผู้ผลิตและผู้เชี่ยวชาญด้านการอ้างอิงเวลาในระบบเครือข่าย ได้เรียบเรียงข้อมูลต่างๆ ซึ่งเป็นเหตุผลสำคัญที่เกี่ยวข้องส่วนหนึ่ง ว่าทำไม PTP ถึงได้รับความนิยมในแอปพลิเคชันโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ หรือ Smart Grid System เพื่อความแม่นยำสูงและแม่นยำ High accuracy and precision เพื่อการทำงานร่วมกันกับมาตรฐานต่างๆ Interoperability and Standards เช่น IEC61850 เพื่อปรับปรุงความน่าเชื่อถือและความเสถียรของกริด Improve grid reliability and stability เพื่อการควบคุมและระบบอัตโนมัติที่ได้รับการปรับปรุง Improved controls and automation เพื่อความสามารถในการขยายขนาดและเพิ่มความยืดหยุ่น Scalability and flexibility เพื่อความคุ้มค่าในการลงทุน Worth […]

จะเกิดอะไรขึ้นถ้าเวลาในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไม่ตรง

ข้อผิดพลาดด้านเวลาในเครือข่ายคอมพิวเตอร์อาจมีผลกระทบที่สำคัญและหลากหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระบบที่ต้องการการซิงโครไนซ์ที่แม่นยำ ดั้งนั้น Elproma และ เทคซอร์ส กรุ๊ปส์ ผู้ผลิตและผู้เชี่ยวชาญด้านการอ้างอิงเวลาในระบบเครือข่าย ขอสรุปภาพรวมของผลที่ตามมาที่อาจเกิดขึ้นจากข้อผิดพลาดด้านเวลาในหน่วยงานต่างๆ มีดังนี้ ปัญหาความสมบูรณ์ของข้อมูล Data Integrity Problem ปัญหาความเสี่ยงด้านความปลอดภัย Security Risks Problem ปัญหาเรื่องประสิทธิภาพและความเสถียรของเครือข่าย Network Performance and Stability Problem ปัญหาของแอพพลิเคชั่นและการทำงานประมาลผลแบบกระจาย Distributed Systems and Applications Problem ปัญหาในระบบการเงิน Financial Systems Problem ปัญหาการใช้งานทางอุตสาหกรรม Industrial Applications Problem ปัญหาการใช้งานทางวิทยาศาสตร์ Scientific Applications Problem ปัญหาในระบบมัลติมีเดียและการสื่อสาร เช่น การซิงโครไนซ์เสียงและวิดีโอ ปัญหาการจัดการพลังงานไฟฟ้า Smart Grids Problem ปัญหาความสมบูรณ์ของข้อมูล Data Integrity Problem ความสมบูรณ์ของข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง ขาดความสอดคล้อง […]

NTP Server Centos ต่างกับ NTS-PICO3 อย่างไร?

เมื่อเปรียบเทียบการติดตั้งใช้งาน NTP Server บน CentOS กับการใช้งาน Elproma NTS-PICO3 Time Server ที่ถูกออกแบบมาเป็นนาฬิกาแม่ข่ายโดยเฉพาะนั้น มีข้อแตกต่างกันอยู่ โดยสามารถแบ่งเป็น 2 ส่วนได้ดังนี้ ความแตกต่างเรื่องของฮาร์ดแวร์ ความแตกต่างเรื่องของระบบปฏิบัติการ ความแตกต่างเรื่องของฮาร์ดแวร์ เป็นการพิจารณาถึงองค์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่มาเป็นอุปกรณ์สำหรับให้บริการซิงค์เวลาโดยเฉพาะ ซึ่งถ้าโดยปกติแล้วการติดตั้ง CentOS Linux 8 เพื่อลงเซอร์วิสให้บริการ Time synchronization ผ่าน NTP (Network Time Protocol) นั้นจะต้องซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์ หรือจะติดตั้งในเครื่องเสมือนหรือ Virtual Machine ที่ถูกสร้างด้วยโปรแกรม VirtualBox โดยเริ่มตั้งแต่การดาวน์โหลดไฟล์ ISO image จากเว็บไซต์ CentOS วิธีการสร้างและเตรียมคอนฟิกเครื่องเสมือน ส่วนวิธีการติดตั้ง Time synchronization Service นั้น สามารถหาดูได้ตามบทความอินเตอร์เน็ต หรือจะกดอ่านที่ การติดตั้ง NTP server บน CentOS […]

What is Beidou satellite (BDS)?

Beidou satellite (BDS) คือ ระบบดาวเทียมนำร่อง หรือดาวเทียมนำทาง ระบบหนึ่งจากหลายๆ ระบบ ที่ใช้สำหรับระบุพิกัดตำแหน่งทั่วโลก โดยเราเรียกระบบระบุตำแหน่งโดยดาวเทียมว่า Global Navigation Satellite System (GNSS) ซึ่งดาวเทียม Beidou นั้นมีจีนเป็นเจ้าของ และดูแลระบบโคจร ระบบดาวเทียมนี้ถูกส่งขึ้นวงโครครั้งแรกเมื่อวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2550 จากศูนย์ยิงส่งดาวเทียมซีชาง ในภาษาไทยนั้นเราอ่านออกเสียง Beidou satellite ว่า ดาวเทียม เป่ยโต่ว ดาวเทียม เป่ยโต่ว นั้นแยกออกเป็น 3 เฟส เฟสแรกคือ BDS-1 Constellation ปัจจุบันถูกปลดประจำการไปทั้งหมดแล้ว เฟสที่ 2 คือ BDS-2 Constellation ครอบครุมพื้นที่เหนือประเทศจีนและแถบเอเชีย และเฟสสุดท้าย BDS-3 Constellation ซึ่งมีดาวเทียมทั้งหมด 30 ดวง อยู่ที่วงโคจร Medium Earth […]

ทำไมต้องใช้ GPS NTP Server ภายใน ทั้งที่สามารถเทียบเวลาบนอินเทอร์เน็ตได้?

โดยหลักการแล้ว คุณสามารถซิงโครไนซ์เวลาคอมพิวเตอร์ของคุณกับเซิร์ฟเวอร์เวลาบนอินเทอร์เน็ตได้ (Internet Time) แต่ด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัย การบำรุงรักษา ความเที่ยงตรงแล้ว ลูกค้าจำนวนมากจะติดตั้ง NTP Server ที่อ้างอิงเวลากับ GPS และ GLONASS ภายในระบบเครือข่ายของตัวเอง ซึ่งมีข้อดีดังนี้ หากการซิงโครไนซ์เวลาของคุณมีความผิดปกติ คุณหรือผู้รับผิดชอบจะได้รับการแจ้งเตือนจากตัว NTP Server แต่ถ้าคุณใช้ NTP Server จาก Internet แล้ว ก็จะไม่อาจรู้เลยว่าการซิงโครไนซ์เวลาของอุปกรณ์ในเครือข่ายทั้งหมดที่คุณดูแลอยู่ทำงานผิดพลาด สำหรับบางกรณีที่เครื่องลูกข่าย (Clients) หรืออุปกรณ์เฉพาะ เช่น เครื่องบันทึกเวลา ระบบกล้องวงจรปิด ในระบบเครือข่ายไม่มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ก็จะทำให้อุปกรณ์เหล่านี้มีค่าเวลาที่ไม่ตรงกับอุปกรณ์อื่นๆ ที่มีการเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต กรณีที่เครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่าย (Clients) อ้างอิงเวลามาตรฐานกับ NTP Server หรือ Time Server จาก Internet เพียงเครื่องเดียว เมื่อเครื่องนั้นหยุดให้บริการ ก็จะทำให้ไม่สามารถซิงโครไนซ์เวลาได้ (Error Time Synchronization) จากการทดสอบเซิร์ฟเวอร์เวลา NTP Time […]

1 2 3

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save