NTP Server Centos ต่างกับ NTS-PICO3 อย่างไร?

เมื่อเปรียบเทียบการติดตั้งใช้งาน NTP Server บน CentOS กับการใช้งาน Elproma NTS-PICO3 Time Server ที่ถูกออกแบบมาเป็นนาฬิกาแม่ข่ายโดยเฉพาะนั้น มีข้อแตกต่างกันอยู่ โดยสามารถแบ่งเป็น 2 ส่วนได้ดังนี้ ความแตกต่างเรื่องของฮาร์ดแวร์ ความแตกต่างเรื่องของระบบปฏิบัติการ ความแตกต่างเรื่องของฮาร์ดแวร์ เป็นการพิจารณาถึงองค์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่มาเป็นอุปกรณ์สำหรับให้บริการซิงค์เวลาโดยเฉพาะ ซึ่งถ้าโดยปกติแล้วการติดตั้ง CentOS Linux 8 เพื่อลงเซอร์วิสให้บริการ Time synchronization ผ่าน NTP (Network Time Protocol) นั้นจะต้องซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์ หรือจะติดตั้งในเครื่องเสมือนหรือ Virtual Machine ที่ถูกสร้างด้วยโปรแกรม VirtualBox โดยเริ่มตั้งแต่การดาวน์โหลดไฟล์ ISO image จากเว็บไซต์ CentOS วิธีการสร้างและเตรียมคอนฟิกเครื่องเสมือน ส่วนวิธีการติดตั้ง Time synchronization Service นั้น สามารถหาดูได้ตามบทความอินเตอร์เน็ต หรือจะกดอ่านที่ การติดตั้ง NTP server บน CentOS […]

MODBUS RTU Mode คืออะไร?

MODBUS Mode คือ วิธีการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ผ่านทางพอร์ตสื่อสารอนุกรม RS-232, RS-485, RS-422 ยกตัวอย่าง เช่น ตัวควบคุมอุณหภูมิ มิเตอร์วัดพลังงานไฟฟ้า ซึ่งเป็น Slave Device สามารถตั้งค่าหมายเลข ID ได้ ก็จะตั้งค่าเป็น Slave Mode แต่ถ้าเราต่อพอร์ตสื่อสารอนุกรม RS-232, RS-485, RS-422 ของตัว Planet MG-110-US MODBUS Gateway เข้ากับ PLC, PC, HMI ที่ไม่มีการตั้งการ ID ก็จะตั้งค่าเป็น Master Mode ตัว MG-110-US Serial Modbus Converter ของ Planet รองรับจำนวนการเชื่อมต่ออุปกรณ์ได้ดังนี้ Master Mode รองรับการร้องขอการเชื่อมต่อ TCP ทาสสูงสุด 32 รายการ Slave Mode […]

What is Beidou satellite (BDS)?

Beidou satellite (BDS) คือ ระบบดาวเทียมนำร่อง หรือดาวเทียมนำทาง ระบบหนึ่งจากหลายๆ ระบบ ที่ใช้สำหรับระบุพิกัดตำแหน่งทั่วโลก โดยเราเรียกระบบระบุตำแหน่งโดยดาวเทียมว่า Global Navigation Satellite System (GNSS) ซึ่งดาวเทียม Beidou นั้นมีจีนเป็นเจ้าของ และดูแลระบบโคจร ระบบดาวเทียมนี้ถูกส่งขึ้นวงโครครั้งแรกเมื่อวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2550 จากศูนย์ยิงส่งดาวเทียมซีชาง ในภาษาไทยนั้นเราอ่านออกเสียง Beidou satellite ว่า ดาวเทียม เป่ยโต่ว ดาวเทียม เป่ยโต่ว นั้นแยกออกเป็น 3 เฟส เฟสแรกคือ BDS-1 Constellation ปัจจุบันถูกปลดประจำการไปทั้งหมดแล้ว เฟสที่ 2 คือ BDS-2 Constellation ครอบครุมพื้นที่เหนือประเทศจีนและแถบเอเชีย และเฟสสุดท้าย BDS-3 Constellation ซึ่งมีดาวเทียมทั้งหมด 30 ดวง อยู่ที่วงโคจร Medium Earth […]

ทำไมต้องใช้ GPS NTP Server ภายใน ทั้งที่สามารถเทียบเวลาบนอินเทอร์เน็ตได้?

โดยหลักการแล้ว คุณสามารถซิงโครไนซ์เวลาคอมพิวเตอร์ของคุณกับเซิร์ฟเวอร์เวลาบนอินเทอร์เน็ตได้ (Internet Time) แต่ด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัย การบำรุงรักษา ความเที่ยงตรงแล้ว ลูกค้าจำนวนมากจะติดตั้ง NTP Server ที่อ้างอิงเวลากับ GPS และ GLONASS ภายในระบบเครือข่ายของตัวเอง ซึ่งมีข้อดีดังนี้ หากการซิงโครไนซ์เวลาของคุณมีความผิดปกติ คุณหรือผู้รับผิดชอบจะได้รับการแจ้งเตือนจากตัว NTP Server แต่ถ้าคุณใช้ NTP Server จาก Internet แล้ว ก็จะไม่อาจรู้เลยว่าการซิงโครไนซ์เวลาของอุปกรณ์ในเครือข่ายทั้งหมดที่คุณดูแลอยู่ทำงานผิดพลาด สำหรับบางกรณีที่เครื่องลูกข่าย (Clients) หรืออุปกรณ์เฉพาะ เช่น เครื่องบันทึกเวลา ระบบกล้องวงจรปิด ในระบบเครือข่ายไม่มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ก็จะทำให้อุปกรณ์เหล่านี้มีค่าเวลาที่ไม่ตรงกับอุปกรณ์อื่นๆ ที่มีการเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต กรณีที่เครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่าย (Clients) อ้างอิงเวลามาตรฐานกับ NTP Server หรือ Time Server จาก Internet เพียงเครื่องเดียว เมื่อเครื่องนั้นหยุดให้บริการ ก็จะทำให้ไม่สามารถซิงโครไนซ์เวลาได้ (Error Time Synchronization) จากการทดสอบเซิร์ฟเวอร์เวลา NTP Time […]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับระบบดาวเทียมและสัญญาณดาวเทียม Terms related to Satellite systems

เพื่อเข้าใจในเรื่องของระบบการปรับเทียบเวลาของอุปกรณ์ในเครือข่าย หรือ Time Synchronization System มากยิ่งขึ้น เราจึงอยากแนะนำข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์รับสัญญาณดาวเทียม หรือ GNSS เพื่อนำมาใช้เป็นตัวอ้างอิงเวลา Reference Time ให้กับตัว NTP Server, PTP Server ที่ใช้มาตรฐาน IEEE1588 หรืออุปกรณ์ Clock synchronization ต่างๆ โดยข้อมูลที่ว่า จะเป็นการอธิบายความหมายของคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับระบบดาวเทียมและสัญญาณดาวเทียม GPS (Global Positioning System) ซึ่งมีชื่อเต็มว่า NAVSTAR GPS เป็นระบบ GNSS (Global Navigation Satellite System) หรือระบบดาวเทียมนำทาง ที่เก่าแก่ที่สุดในโลก มีเจ้าของเป็นรัฐบาลสหรัฐอเมริกา และดำเนินการโดย United States Space Force บริการระบุตำแหน่งมาตรฐานของ GPS เริ่มต้นใช้งานในปี ค.ศ.1993 Global Navigation Satellite System (GLONASS) […]

เวลา TAI (International Atomic Time) ทำงานอย่างไร?

เราทราบดีอยู่แล้วว่า TAI (International Atomic Time) หรือนาฬิกาอะตอม เป็นวิธีการบอกเวลาที่แม่นยำสูงเป็นพิเศษ ซึ่งเวลาของนาฬิกาอะตอมนั้นจะมีค่าเบี่ยงเบนเพียงแค่ 1 วินาที ใน 100 ล้านปี จากความเที่ยงตรงแม่นยำสูงเป็นพิเศษนี้ เราจึงมีการกำหนดค่ามาตรฐานเวลาโลกตามระบบหน่วยสากล SI Unit ว่า เมื่อ (Caesium-133 atom) อะตอมของซีเซียม 133 สั่น 9,192,631,770 ครั้งพอดี ที่อุณหภูมิ 0 K จะมีค่าเวลาเท่ากับ 1 วินาที พอดี

ทำไมถึงไม่ใช้เวลา TAI (International Atomic Time)

ทำไมถึงไม่ใช้เวลา TAI (International Atomic Time) เพื่ออ้างอิงเวลาและวันที่ แต่กลับใช้เวลา UTC แทน ทั้งที่เวลา TAI มีความเที่ยงตรงกว่า เนื่องจากเวลา TAI ไม่ได้คำนึงถึงค่าความผันแปรของความเร็วในการหมุนของโลก ซึ่งเป็นตัวกำหนดเวลาที่แท้จริงของแต่ละวัน ด้วยเหตุผลนี้ เราจึงใช้เวลา UTC เป็นเวลาท้องถิ่น เนื่องจากเวลา UTC นั้นมีการเปรียบเทียบกับเวลา UT1 อย่างต่อเนื่อง และก่อนที่ความแตกต่างระหว่างสเกลเวลา UTC กับ UT1 จะถึง 0.9 วินาที ก็จะมีการเพิ่มหรือลด Leap Second ลงในเวลา UTC  ซึ่งตั้งแต่เริ่มมีการใช้เวลา UTC มาตั้งแต่ปี 1958 – 2017 โดยเฉลี่ยแล้ว โลกมีการหมุนชะลอตัวเล็กน้อย โดยเวลา UTC เดินช้ากว่าเวลา TAI อยู่ 37 วินาที โดยเวลา UTC (Coordinated […]

Leap Second หรือ อธิกวินาที คืออะไร?

Leap Second หรือ อธิกวินาที คือ เวลา 1 วินาที ที่ใช้ในการปรับเพิ่มขึ้นหรือลดลงของค่าเวลา UTC ที่เราใช้เป็นมาตรฐานอ้างอิงเวลาและวันที่ ซึ่งเริ่มใช้ในปี 1972 เพื่อรักษามาตรฐานการประกาศเวลาให้ใกล้เคียงกับเวลา UT (Universal Time) หรือเวลาสากล หรือ เวลาสุริยะโดยเฉลี่ย เนื่องจากเวลา UTC นั้น อ้างอิงตามเวลาอะตอมมิก Atomic Clock ที่มีความเที่ยงตรงแม่นยำสูง มีการสั่นหรือการเปลี่ยนแปลงคาบเวลาที่คงที่  แต่เนื่องจากโลกมีการเปลี่ยนแปลง อาทิ การเคลื่อนที่ของเปลือกโลก แผ่นดินไหว ปริมาณน้ำในมหาสมุทร ทำให้อัตราการหมุนของโลกช้าลงหรือเร็วขึ้น ซึ่งมีผลทำให้เวลา UT (Universal Time) มีการเปลี่ยนแปลง เพื่อที่จะทำให้เวลาของ UTC ที่เราใช้เป็นมาตรฐานหลัก มีค่าใกล้เคียงกับเวลาจริงของโลกมากที่สุด จึงต้องมีการปรับเวลาให้ใกล้เคียงกัน ดังนั้นจึงมีการเพิ่มหรือลด Leap Second หรือ อธิกวินาที ให้กับเวลา UTC  การปรับอธิกวินาที (Leap Second ) […]

Daylight saving time (DST) หรือ เวลาออมแสงแดด คืออะไร

Daylight saving time (DST) หรือ เวลาออมแสงแดด คือ การที่ประเทศเมืองหนาว จะมีการปรับนาฬิกาให้เร็วขึ้นจากเดิม 1 ชั่วโมงในฤดูร้อน/ฤดูใบไม้ผลิ และเปลี่ยนกลับมาเป็นเหมือนเดิมในช่วงฤดูหนาว/ฤดูใบไม้ร่วง ทิป หลักการปรับนาฬิกาให้เดินเร็วขึ้นหนึ่งชั่วโมงในหน้าร้อนนั้น มาจากการที่ในประเทศเมืองหนาว ช่วงเวลาที่มีแสงสว่างในหน้าร้อนนั้นจะยาวนานกว่าในหน้าหนาว ก็เลยมีความคิดอยากปรับนาฬิกาในหน้าร้อนให้เร็วขึ้น เพื่อที่จะได้ตื่นมาใช้ประโยชน์แสงแดดในตอนเช้า และพอเวลาเย็นค่ำ ๆ ก็ไม่ต้องเปิดไฟ ให้เปลือง เนื่องจากยังมีแสงแดดอยู่ เป็นหลักการประหยัดพลังงานนั้นเอง ปัจจุบันทีปะเทศมากกว่า 70 ประเทศทั่วโลก ที่มีการใช้ DST ยกตัวอย่างเช่น ประเทศในยุโรป ที่จะเริ่มมีการปรับนาฬิกาให้เร็วขึ้น 1 ชั่วโมง ตอนเวลา 1.00 น. ของอาทิตย์สุดท้ายในเดือนมีนาคม และปรับกลับคืนตอนเวลา 1.00 น. ของอาทิตย์สุดท้ายในเดือนตุลาคม

การอ้างอิงเวลาจาก GNSS คืออะไร?

Time References in GNSS หรือการอ้างอิงเวลาจาก GNSS คือ การอ้างอิงเวลาจากระบบดาวเทียมนำร่องต่างๆ เช่น GPS, GLONASS, Galileo, BeiDou โดยระบบ GNSS นั้นจะอ้างอิงเวลาที่ได้จากการแพร่กระจายของสัญญาณวิทยุ หรือสัญญาณดาวเทียม ดังนั้น ระบบ GNSS ขอแต่ละระบบดาวเทียมที่ได้กล่าวมา จึงมีการอ้างอิงเวลาตามวิธีการของตัวเอง

1 2 3

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save