โปรโตคอล IRIG คือ? What is IRIG Protocol?

โปรโตคอล IRIG คือ? What is IRIG Protocol?

โปรโตคอล IRIG หรือ Inter-Range Instrumentation Group คือ มาตรฐานรหัสเวลา Time code ที่นำมาใช้สำหรับการส่งข้อมูลเวลาที่ถูกพัฒนาขึ้นมาโดยคณะทำงานด้านโทรคมนาคมของ Inter-Range Instrumentation Group รหัสเวลาหรือ time code เหล่านี้ใช้เพื่อส่งข้อมูลเวลาในรูปแบบที่ต้องการความแม่นยำ รวมถึงมีมาตรฐานรองรับ เช่น ใช้ในการวัดและส่งข้อมูลทางไกล Telemetry การทหาร Military อวกาศ Space และการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ Scientific เป็นต้น ซึ่งในปัจจุบันโปรโตคอล IRIG ยังมีใช้อยู่ในระบบจ่ายไฟฟ้า สถานีส่ง แต่ก็เริ่มมีการปรับเปลี่ยนมาใช้เป็น PTP Protocol กันบ้างแล้ว

คุณสมบัติที่สำคัญของโปรโตคอล IRIG

  1. รูปแบบรหัสเวลา Time Code Formats โดยทั่วไปรหัสเวลา IRIG จะถูกจัดประเภทเป็นรูปแบบต่างๆ เช่น IRIG-A, IRIG-B, IRIG-E, IRIG-G และ IRIG-H ซึ่งตัว IRIG-B นั้นจะเป็นรูปแบบที่ใช้บ่อยที่สุดในบ้านเรา โดยตัวโปรโตคอล IRIG แต่ละรูปแบบจะแตกต่างกันไปตามความละเอียด Resolution อัตราบิต Bit rate และวิธีการเข้ารหัส Encoding method ซึ่งจะถูกปรับให้เหมาะกับการใช้งานและข้อกำหนดที่แตกต่างกัน
  2. ส่วนประกอบของ IRIG Time Code จะประกอบไปด้วยข้อมูลต่างๆ ดังนี้ 
    1. Year, Day, Hour, Minute, Second โดยเรียงลำดับจาก ปี วัน ชั่วโมง นาที วินาที ซึ่งจำเป็นการเข้ารหัสข้อมูลวันที่และเวลา
    2. Control Bits ใช้สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมหรือวัตถุประสงค์ในการซิงโครไนซ์
    3. Parity Bits ใช้สำหรับการตรวจจับข้อผิดพลาด
  3. วิธีการมอดูเลต Modulation Methods หรือการนำข้อมูลรวมเข้ากับตัวคลื่นพาหะ ซึ่งมีอยู่ 3 รูปแบบคือ
    1. การมอดูเลตแบบแอมพลิจูด (AM) ใช้การเปลี่ยนแปลงแอมพลิจูดของสัญญาณเพื่อเข้ารหัสข้อมูลเวลา ซึ่งให้สัญญาณเป็นแบบอนาล็อก
    2. การมอดูเลตแบบปรับความกว้างพัลส์ (PWM) เข้ารหัสข้อมูลตามความกว้างของพัลส์  ซึ่งให้สัญญาณเป็นแบบอนาล็อก 
    3. การมอดูเลตแบบเลื่อนระดับ DC (DCLS) ใช้การเปลี่ยนแปลงระดับแรงดันไฟฟ้าเพื่อเข้ารหัสข้อมูลเวลา ซึ่งให้สัญญาณเป็นแบบดิจิทัล

รูปแบบ IRIG การกำหนดรหัส IRIG

ชื่อของรูปแบบรหัส IRIG ประกอบด้วยตัวอักษรตัวเดียวบวกตัวเลข 3 หลักที่ตามมา ตัวอักษรหรือตัวเลขแต่ละตัวแสดงถึงคุณลักษณะของรหัส IRIG ที่เกี่ยวข้อง ตารางต่อไปนี้ประกอบด้วยรูปแบบรหัสมาตรฐานที่กำหนดในมาตรฐาน IRIG 200-98:

IRIG A  IRIG B  IRIG D  IRIG E  IRIG G  IRIG H 
A000 B000 D001 E001 G001 H001
A003 B003 D002 E002 G002 H002
A130 B120 D111 E111 G141 H111
A132 B122 D112 E112 G142 H112
A133 B123 D121 E121   H121
    D122 E122   H122

 

ชื่อรูปแบบโค้ดประกอบด้วยตามที่อธิบายไว้ด้านล่าง

First letter:

Rate Designation

A

B

D

E

G

H

1,000 PPS  ( 1 ms count )

100 PPS     ( 10 ms count )

1 PPM         ( 1 minute count )

10 PPS           ( 0.1 second count )

10,000 PPS    (  0.1 ms count )

1 PPS             ( 1 second count )

1st Digit:

Form Designation

0

1

DC Level Shift (DCLS), width coded, no carrier

Sine wave carrier, amplitude modulated

2nd Digit:

Carrier Resolution

0

1

2

3

4

No carrier(DCLS)

100 Hz / 10 millisecond resolution

1 kHz / 1 millisecond resolution

10 kHz / 100 microsecond resolution

100 kHz / 10 microsecond resolution

3rd Digit:

Coded Expressions

0

1

2

3

4*

5*

6*

7*

BCD TOY, CF, SBS

BCD TOY, CF

BCD TOY

BCD TOY, SBS

BCD TOY, BCD YEAR, CF, SBS

BCD TOY, BCD YEAR, CF

BCD TOY, BCD YEAR

BCD TOY, BCD YEAR, SBS

BCD: Binary Coded Decimal

CF: Control Functions

SBS: Straight Binary Seconds

TOY: Time of Year

รายละเอียดโปรโตคอล IRIG-B ที่มีใช้กันอยู่ในสถานีไฟฟ้า

  1. รูปแบบรหัสเวลา Time Code Formats ตัว IRIG-B จะส่งข้อมูลด้วยอัตราบิต 100 พัลส์ต่อวินาที Bits rate (ความถี่ 100 Hz) โดยแต่ละบิตแทนช่วงเวลา 10 ms ซึ่งเมื่อเราเอาจำนวนบิตคูณกับช่วงเวลา 100 x 10ms = 1000ms หรือ 1 วินาที ซึ่งข้อมูลเวลาจะอยู่ในรูปแบบ Binary Coded Decimal (BCD)
  2. วิธีการมอดูเลต Modulation Methods ของโปรโตคอล IRIG-B จะมีอยู่ 2 รูปแบบ ตือ
    1. การมอดูเลตแบบแอมพลิจูด (IRIG-B AM) ซึ่งใช้ความถี่พาหะ 1 kHz
    2. การมอดูเลตแบบเลื่อนระดับ DC (IRIG-B DCLS)

โปรโตคอล IRIG มีความสำคัญในงานด้านต่างๆ ที่ต้องการการซิงโครไนซ์เวลาที่แม่นยำและการประทับเวลาที่แม่นยำ ซึ่งเป็นวิธีการมาตรฐานในการกระจายข้อมูลเวลาไปยังระบบและแอปพลิเคชันต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง IRIG-B มีการใช้กันอย่างแพร่หลายเนื่องจากมีความเรียบง่าย ความแม่นยำ สำหรับ Elproma เอง ก็มีตัว Time & Frequency Distribution รุ่น TFD-100 series Modular Time & Frequency Distribution/Generating Unit ซึ่งสามารถแจกจ่ายเวลาให้กับระบบที่ต้องการรับเวลาผ่านโปรโตคอลต่างๆ เช่น IRIG DCLS, IRIG-A AM, IRIG-B AM โดยตัว TFD-100 เอง จะอ้างอิงเวลากับ NMEA183 GNSS  หรือ 1PPS Code

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save