Leap Second หรือ อธิกวินาที คืออะไร?

Leap Second คืออะไร?

Leap Second หรือ อธิกวินาที คือ เวลา 1 วินาที ที่ใช้ในการปรับเพิ่มขึ้นหรือลดลงของค่าเวลา UTC ที่เราใช้เป็นมาตรฐานอ้างอิงเวลาและวันที่ ซึ่งเริ่มใช้ในปี 1972 เพื่อรักษามาตรฐานการประกาศเวลาให้ใกล้เคียงกับเวลา UT (Universal Time) หรือเวลาสากล หรือ เวลาสุริยะโดยเฉลี่ย เนื่องจากเวลา UTC นั้น อ้างอิงตามเวลาอะตอมมิก Atomic Clock ที่มีความเที่ยงตรงแม่นยำสูง มีการสั่นหรือการเปลี่ยนแปลงคาบเวลาที่คงที่ 

แต่เนื่องจากโลกมีการเปลี่ยนแปลง อาทิ การเคลื่อนที่ของเปลือกโลก แผ่นดินไหว ปริมาณน้ำในมหาสมุทร ทำให้อัตราการหมุนของโลกช้าลงหรือเร็วขึ้น ซึ่งมีผลทำให้เวลา UT (Universal Time) มีการเปลี่ยนแปลง เพื่อที่จะทำให้เวลาของ UTC ที่เราใช้เป็นมาตรฐานหลัก มีค่าใกล้เคียงกับเวลาจริงของโลกมากที่สุด จึงต้องมีการปรับเวลาให้ใกล้เคียงกัน ดังนั้นจึงมีการเพิ่มหรือลด Leap Second หรือ อธิกวินาที ให้กับเวลา UTC 

การปรับอธิกวินาที (Leap Second ) ในอดีตจนถึง 1 มกราคม พ.ศ.2531 (ค.ศ.1988) การปรับอธิกวินาที จะถูกควบคุมโดย Bureau International de l'Heure (BIH) แต่ปัจจุบันถูกควบคุมโดย International Earth Rotation and Reference Systems Service (IERS)

Leap Second จะถูกปรับตอนไหน?

การปรับอธิกวินาที (Leap Second) จะปรับเมื่อเวลา UT1 แตกต่างจากเวลา UTC เกิน ±0.9 วินาที ซึ่งจะถูกกำหนดให้มีการเพิ่มหรือลดเวลา เมื่อสิ้นสุดของวันที่ 30 มิถุนายน หรือ 31 ธันวาคม โดยจะมีการประกาศเป็นคราว ๆ ไป (ถึงแม้ว่าอธิกวินาทีสามารถเพิ่มหรือลดในวันไหนก็ได้) ซึ่งจะทำให้นาทีสุดท้ายของวันดังกล่าวเกินมาหรือขาดไป 1 วินาทีตามทฤษฎี อย่างไรก็ตามการปรับอธิกวินาทีที่เคยเกิดขึ้นในอดีต มีเพียงการเพิ่มเวลาเข้าไปอย่างเดียวเท่านั้น ซึ่งจะทำให้เวลา 23:59:60 ปรากฏขึ้น ก่อนที่จะเป็น 0:00:00 ในวินาทีถัดไป และจะเกิดพร้อมกันทั่วโลก (เช่น ประเทศไทยจะปรากฏเป็นเวลา 6:59:60) การปรับอธิกวินาทีเริ่มต้นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2515 (ค.ศ. 1972) และครั้งล่าสุดเมื่อ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559 (ค.ศ. 2016)

Leap Second เกี่ยวข้องกับ Leap Year อย่างไร?

วินาทีอธิกสุรทิน (Leap Second ) และปีอธิกสุรทิน (Leap Year) ถูกนำมาใช้เพื่อรักษาเวลาของเราให้สอดคล้องกับตำแหน่งของโลก อย่างไรก็ตาม วินาทีอธิกสุรทินจะถูกเพิ่มเมื่อจำเป็น ตามการวัด แต่สำหรับปีอธิกสุรทินเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นประจำตามกฎที่ตั้งไว้ ในช่วงปีอธิกสุรทิน (Leap Year) นั้นจะมีการเพิ่มวันพิเศษขึ้นในวันที่ 29 กุมภาพันธ์ เพื่อให้ปฏิทินซิงโครไนซ์กับการเคลื่อนตัวของโลกรอบดวงอาทิตย์ ปีอธิกสุรทินมีความจำเป็นเนื่องจากระยะเวลาที่แท้จริงที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ นั้นใช้เวลา 365.2422 วัน (1 ปี) ซึ่งไม่ได้ใช้เวลา 365 วัน แต่เพื่อให้ง่ายต่อการกำหนดวัน จึงมีการเพิ่มวันพิเศษทุกสี่ปี เพื่อชดเชยค่า 0.2422 วัน ที่หายไป 

อย่างไรก็ตาม การชดเชยค่านี้ก็มีค่ามากเกินไปเล็กน้อย (0.25 - 0.2422 = 0.0078) ดังนั้นจึงกำหนดให้เฉพาะทุกๆ ศตวรรษที่สี่ (ที่หารด้วย 400 ลงตัว) เท่านั้นที่เป็นปีอธิกสุรทิน ตัวอย่างเช่น ปีคศ 2000, 2400 นอกจากนั้นจะไม่ใช่ปีอธิกสุรทิน ตัวอย่างเช่น ปีคศ 1700, 1800, 1900

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save