ความสัมพันธ์ของเวลา UTC, GPS, LORAN และ TAI

ในการอธิบายความสัมพันธ์ของเวลา  UTC, GPS, LORAN และ TAI นั้น ถ้าดูจากรูปด้านล่างเราสามารถหาค่าความแตกต่างของเวลาทั้ง 4 ตัวได้ดังนี้ UTC จะเดินช้ากว่าเวลา GPS อยู่ 18 วินาที เนื่องจากเวลา GPS เริ่มใช้งานปี 1980 โดยตั้งค่าเวลาเริ่มต้นให้เท่ากับเวลา UTC UTC จะเดินช้ากว่าเวลา LORAN อยู่ 27 วินาที เนื่องจากเวลา LORAN เริ่มใช้งานปี 1970 โดยตั้งค่าเวลาเริ่มต้นให้เท่ากับเวลา UTC UTC จะเดินช้ากว่าเวลา TAI อยู่ 37 วินาที เนื่องจากเวลา TAI เริ่มใช้งานปี 1958 และมีการปรับ Leap Second ที่เวลา UTC โดยในช่วง 1972 – 2017 มีการเพิ่ม Leap […]

ระบบดาวเทียมที่ใช้อ้างอิงเวลา The satellite time synchronize system

ปัจจุบันมีการใช้ระบบดาวเทียมนำทาง GNSS มาเป็นอุปกรณ์อ้างอิงเวลาให้กับ NTP Server, PTP Server IEEE1588 เนื่องจากตัวกำเนิดสัญญาณนาฬิกาที่อยู่ภายในดาวเทียมนั้นมีความเที่ยงตรงสูงมา ใช้ Atomic Clock ซึ่งระบบดาวเทียมที่ Elproma ผู้ผลิต Master Clock Standard ใช้อ้างอิงเวลานั้นได้แก่ GPS Time GLONASS Time Galileo System Time (GST) BeiDou Time (BDT) ถึงแม้ว่าระบบดาวเทียม GPS นั้นเป็นระบบที่ใช้บอกพิกัดตำแหน่ง แต่การอ้างอิงเวลากับดาวเทียม GPS นั้น ก็มีความเที่ยงตรงสูง เรื่องจากเวลา GPS ขึ้นอยู่กับนาฬิกาอะตอม Atomic Clock และไม่มีการแก้ไขค่าเวลาใด ๆ เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงเวลาที่เหมาะสมของการหมุนของโลก อย่างเช่น UTC ที่มีการแก้ค่าโดยใช้ Leap Time  GPS time ในทางทฤษฎีจะมีความเที่ยงตรงประมาณ 14 nanoseconds […]

ระบบเวลาที่ใช้อ้างอิงบนโลกของเรา The world standard time system

เมื่อเรารู้ว่า Time หรือเวลา กำหนดอย่างไรแล้ว เราก็สามารถกำหนดมาตรฐานเวลาที่สามารถนำมาใช้ในการอ้างอิงหรือเปรียบเทียบได้ โดยปัจจุบันเรามีการอ้างอิงเวลาหรือบอกเวลากันได้ดังนี้ GMT (Greenwich Mean Time) TAI (International Atomic Time) UTC (Universal Time Coordinated) UT (Universal Time) LORAN จากการแบ่ง Standard Time Zone ออกเป็น 24 ชั่วโมงนั้น จะถือเอาเส้นสมมุติที่ลากในแนวเหนือ-ใต้ ผ่านหอดูดาวเมือง Greenwich (The Observatory of Greenwich) ในประเทศอังกฤษ เป็นเส้นเมอริเดียนหลัก (The Prime Meridian) และเวลาที่ใช้อ้างอิงหลัก ซึ่งในการใช้ Standard time ก็จะใช้เวลาที่เป็น Mean Solar Time ของเมือง Greenwich เป็นเกณฑ์ ดังนั้น เราจึงเรียกเวลาหลักนี้ว่า เรียกว่า […]

Time หรือเวลา เกิดขึ้นได้อย่างไร

ในการกำหนดเวลานั้น เราอาศัยมาตรวัดที่มีความเที่ยงตรงสูง และมีคาบหรือความถี่การเปลี่ยนแปลงที่คงที่ แน่นอนเรารู้อยู่แล้วว่าโลกของเราหมุนรอบตัวเอง 1 รอบ ใช้เวลาประมาณ 24 ชั่วโมง หรือ 1 วัน แต่ในความเป็นจริงแล้ว โลกที่เราอาศัยอยู่นั้นไม่ได้หมุนรอบตัวเองค้วยความเร็วคงที่ตลอดเวลา ดังนั้นนักดาราศาสตร์จึงอาศัยปรากฎการดังกล่าวเป็นตัวกำหนดสเกลของเวลา (Time Scale) ซึ่งกำหนดเป็น 3 ชนิดคือ เวลาสุริยะปรากฎ (Apparent Solar Time) เวลาสุริยะเฉลี่ย (Mean Solar Sun) หรือ (Mean Solar Time) เวลาดาราคติ (Sidereal Time, S.T.) เวลาสุริยะปรากฎ (Apparent Solar Time) การอ้างอิงเวลาในสมัยแรกๆ มนุษย์อาศัยการสังเกตการเคลื่อนที่ ของดวงอาทิตย์รอบโลก (เนื่องจากเมื่อก่อนมนุษย์เชื่อว่า โลกเป็นศูนย์กลาง ของจักรวาล) ซึ่งจะเห็นดวงอาทิตย์ขึ้น ทางทิศตะวันออก และตกในทิศตะวันตกเสมอ ช่วงระยะเวลาที่ดวงอาทิตย์เคลื่อนที่ ผ่านจุดเหนือศีรษะ ในแต่ละวันนั้น เรียกว่า Apparent Solar […]

ทำไมเราไม่ซิงค์เวลากับ Public NTP Server

การติดตั้ง NTP Server ภายในองค์กร เพื่อทำหน้าที่เป็นตัวอ้างอิงเวลา (Time Reference) ให้กับอุปกรณ์ต่างๆ ภายในเครือข่ายนั้น เป็นสิ่งที่ควรทำเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากเราสามารถควบคุมเวลาของอุปกรณ์ภายในเครือข่ายของเราเอง ให้มีค่าเวลาที่เท่ากัน แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าจะตรงกับเวลา UTC เนื่องจากคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์เวลาที่เราติดตั้งขึ้นมาใช้งานเองนั้น ส่วนใหญ่จะใช้คอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์ทั่วๆ ไป ติดตั้งระบบปฎิบัติการ Linux แล้วก็ติดตั้งเซอร์วิสให้บริการเวลา ซึ่งตัวกำเนิดสัญญาณนาฬิกาที่ใช้ในเครื่องเซิฟเวอร์นั้นมีคุณภาพต่ำ มีค่าความคลาดเคลื่อนสูง ถึงแม้ว่าเราจะให้เซิร์ฟเวอร์เวลาของเรา ไปซิงค์เวลากับเซิร์ฟเวอร์เวลาสาธารณะ Public NTP Server ที่ใช้นาฬิกาที่มีความแม่นยำมากที่สุดในโลก หรือสถาบันมาตรวิทยาแห่งประเทศไทย NIMT ซึ่งมีเวลาอะตอมมิก (Cesium clock) ที่สามารถสอบเทียบเวลากลับไปยังมาตรฐานเวลาโลกได้แล้วก็ตาม ก็ยังมีความคลาดเคลื่อนอยู่มาก ซิงค์เวลากับ Public NTP Server แล้วยัง Error เพราะอะไรนั้น มีสาเหตุมาจากการปรับเทียบเวลา Time Synchronization กับ Public NTP Server ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้อย่างสมบูรณ์แบบนั้นเป็นไปไม่ได้ เรื่องจากระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต นั้นเป็นระบบ packet switching ประกอบไปด้วย […]

การปรับเทียบเวลาของอุปกรณ์ในเครือข่าย Time Synchronization System

Network Time Synchronization System คือ ระบบการปรับเทียบเวลาของอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกันในเครือข่ายเน็ตเวิร์คทั้งหมดให้มีค่าเวลาที่เท่ากัน โดยอ้างอิงเวลามาตรฐาน โดยอุปกรณ์ที่ว่านี้อาจจะเป็น อุปกรณ์อนาล็อก เช่น นาฬิกาบอกเวลา แบบเข็ม หรือเครื่องส่งสัญญาณวิทยุสื่อสารแบบ AM/FM ที่ใช้ในระบบออกอากาศ เครื่องมิกเซอร์สัญญาณ Mixer Signal ที่ใช้ในระบบกระจายสัญญาณเสียง หรือสัญญาณภาพ Broadcast หรืออุปกรณ์ดิจิตอล ที่ยังสามารถแบ่งออกเป็นรูปแบบการสื่อสารต่างๆ เช่น ไอพี เน็ตเวิร์ค IP Network ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์เน็ตเวิร์คสวิตซ์ Network Switch เราท์เตอร์ Router ระบบรักษาความปลอดภัย Access Control, IoT Internet of Thing และอุปกรณ์ต่างๆ ที่มีการสื่อสารบนโลก IP Network, Internet หรืออุปกรณ์ดิจิตอลที่มีการสื่อสารบน Protocol แบบอื่นๆ เช่น DNP3, Modbus, DeviceNet, ProfiBus […]

การจัดซื้อพร้อมติดตั้งอุปกรณ์ Serial to Ethernet Converter (Protocol Converter)

การจัดซื้อพร้อมติดตั้งอุปกรณ์ Serial to Ethernet Converter (Protocol Converter) สำหรับใช้งานในภาคอุตสาหกรรม เช่น สถานีไฟฟ้า สถานีสูบน้ำ สถานีผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ หรืออุตสาหกรรมอื่นๆ จำเป็นต้องเลือกอุปกรณ์ Serial to Ethernet Converter ที่เป็นเกรดอุตสาหกรรม Industrial Grade เนื่องจากสภาวะแวดล้อมในการติดตั้งที่ไม่เหมือนกับในห้องทำงาน หรือบ้าน มีทั้งปัจจัยในเรื่องของอณหภูมิ ซึ่งอุปกณ์ที่ไม่ใช่เกรดอุตสาหกรรม อาจจะทำงานได้แค่อุณหภูมิสูงสุดไม่เกิน 50°C แต่สำหรับเกรดอุตสาหกรรมอย่าง Planet หรือ MOXA จะสามารถทำงานได้ที่อุณหภูมิสูงถึง 70-75°C ปัจจัยสำหรับพิจารณาในการจัดซื้อ Serial to Ethernet Converter (Protocol Converter) นั้นเราสามารถพิจารณาได้ตามหัวห้อดังนี้ ประเภทของพอร์ตสื่อสาร Communication Port เช่น RS-232, RS-422, RS-485, Ethernet, Fiber Optic ประเภทของโปรโตคอลที่ใช้ Protocol Type เช่น […]

PLANET – MG-110-US Industrial Modbus Gatway (ตัวแปลงสัญญาณอนุกรม 1-Port RS-232, RS-422, RS-485 Modbus RTU/ASCII to LAN Ethernet RJ45 Converter Modbus TCP, ตั้งค่าผ่านเว็บ ทนอุณหภูมิ -10~60°C, ESD Protection 6KV)

Planet MG-110-US คือ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณสื่อสารแบบอนุกรม (Serial) เช่น RS-232, RS-422, RS-485 ไปเป็นการสื่อสารสารแบบอีเทอร์เน็ต (Ethernet) หรือเรียกง่ายๆ ว่า ตัวแปลงพอร์ต RS-232, RS-485 เป็นอีเทอร์เน็ต (Ethernet) RJ-45 หรือพอร์ตแลน LAN PLANET MG-110 มี 1 พอร์ต RS-232, RS-422, RS-485 Modbus Gateway รองรับ Modbus Protocol มาตรฐานซึ่งทำให้สามารถแปลง Modbus Protocols ระหว่าง Modbus TCP, Modbus RTU และ Modbus ASCII สำหรับอินเทอร์เฟซฮาร์ดแวร์ที่รองรับทั้งหมด โปรโตคอลแบบอนุกรมสามารถใช้สำหรับระบบอัตโนมัติในอุตสาหกรรมที่มีระบบ SCADA หรือ HMI ยิ่งไปกว่านั้นการรวมเครือข่ายสามารถอัพเกรดจากเครือข่าย SNMP ไปเป็นเครือข่าย Modbus TCP […]

PLANET – MG-120-US Industrial Modbus Gatway (ตัวแปลงสัญญาณอนุกรม 2-Port RS-232, RS-422, RS-485 Modbus RTU/ASCII to LAN Ethernet RJ45 Converter Modbus TCP, ตั้งค่าผ่านเว็บ ทนอุณหภูมิ -10~60°C, ESD Protection 6KV)

Planet MG-120-US Industrial Modbus Gateway 2-Port RS232/422/485 Serial-to-Ethernet Application Planet MG-120-US คือ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณสื่อสารแบบอนุกรม (Serial) เช่น RS-232, RS-422, RS-485 ไปเป็นการสื่อสารสารแบบอีเทอร์เน็ต (Ethernet) หรือเรียกง่ายๆ ว่า ตัวแปลงพอร์ต RS-232, RS-485 เป็นอีเทอร์เน็ต (Ethernet) RJ-45 หรือพอร์ตแลน LAN PLANET MG-120 มี 2 พอร์ต RS-232, RS-422, RS-485 Modbus Gateway รองรับ Modbus Protocol มาตรฐานซึ่งทำให้สามารถแปลง Modbus Protocols ระหว่าง Modbus TCP, Modbus RTU และ Modbus ASCII สำหรับอินเทอร์เฟซฮาร์ดแวร์ที่รองรับทั้งหมด […]

Time Server หรือ NTP Server ทำงานอย่างไร? อ้างอิงเวลาจากอะไร?

NTP Server หรือ Time Server ที่ทำงานอยู่ในระดับ Stratum 1 จะเทียบเวลาหรืออ้างอิงเวลามาจากสัญญาณดาวเทียมนำร่องในระบบต่างๆ GNSS (Global Navigation Satellite System) ซึ่งในประเทศไทย จะนิยมอ้างอิงอยู่ 2 ระบบคือ GPS (Global Positioning System) ของอเมริกา และ GLONASS (Globalnaya navigatsionnaya sputnikovaya sistema ) ซึ่งเป็นของรัสเซีย นอกจาก 2 ระบบนี้ ก็ยังมี GALIELO, BEIDOU ที่เป็นระบบดาวเทียมนำร่องบนโลกนี้ โดยตัวรับสัญญาณดาวเทียมที่ว่านี้ เราจะเรียกว่าสายอากาศ หรือ Antenna ไม่ใช่เสาอากาศนะครับ ส่วนใหญ่จะเรียกผิดกัน ซึ่งเจ้าสายอากาศนี้ ภายในจะมีตัว GNSS Receiver ติดตั้งอยู่ เพื่อใช่รับสัญญาณดาวเทียม โดยสัญญาณดาวเทียมที่เรารับได้นั้นก็จะขึ้นอยู่กับตัว GNSS Recever ว่าจะรับสัญญาณของดาวเทียมดวงไหนได้ เช่น […]

1 2 3

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save